กระเจี๊ยบ
ชื่อสามัญ Roselle
ชื่อวิทยาศาสตร์ Hibiscus sabdariffa Linn.
วงศ์ Malvaceae
ชื่ออื่น/ชื่อท้องถิ่น กระเจี๊ยบ (ภาคตะวันออก) กระเจี๊ยบเปรี้ยว (ภาคกลาง) ส้มเก็งเค็ง ผักเก็งเค็ง (ภาคเหนือ)
ส้มตะเลงเครง (ตาก) ส้มปู (แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็กมีลักษณะเป็นพุ่ม ลําต้นและกิ่งก้านมีสีแดงอมม่วง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน มีลักษณะเรียวแหลมหรืออาจเว้า เป็นแฉกลึกประมาณ 3-5 แฉก ดอกเป็นดอกเดี่ยวมีขนาดใหญ่ สีชมพูหรือ เหลืองอ่อนออกระหว่างซอกใบและกิ่งเมื่อดอกเริ่มเป็นผล กลีบดอกจะร่วง
กลีบเลี้ยงซึ่งมีสีแดงอมม่วง กลีบหนาแข็งและมีรสเปรี้ยว จะขยายใหญ่ห่อหุ้มผลไว้ โดยมีกลีบประดับอยู่ตรงโคนผล ผล สีแดงรูปร่างคล้ายไข่ ปลายแหลมมีขนอ่อนๆ เมื่อผลแก่แห้งจะแตกได้ เมล็ดมีเป็นจํานวนมาก
แหล่งที่พบ
นิยมปลูกตามสวน โดยกระเจี๊ยบแดงเป็นพืชส่งออกที่สําคัญ
สารสําคัญที่พบ
กลีบเลี้ยงและกลีบประดับมีสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ซึ่งเป็นสารสีแดง นอกจากนี้ในยอดอ่อนและกลีบเลี้ยงยังประกอบด้วยกรดอินทรีย์อีกหลายชนิด ซึ่งทําให้มีรสเปรี้ยว
สรรพคุณ
1.ช่วยขับปัสสาวะ รักษาอาการอักเสบของทางเดินปัสสาวะ รักษาโรคนิ่ว โดยนํากลีบเลี้ยงหรือกลีบประดับตากแห้ง บดให้เป็นผงชงในน้ําเดือด 1 ถ้วย ครั้งละ 1 ช้อนชา โดยดื่มแต่น้ําวันละ 3 ครั้ง
2. กรดอินทรีย์ในใบอ่อน ยอดอ่อน กลีบเลี้ยงและกลีบประดับ ช่วยขับเสมหะ ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยย่อยอาหารประเภทไขมัน ลดไขมันในเส้นเลือด แก้กระหายน้ํา ป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน และช่วยลด อุณหภูมิในร่างกาย
ส่วนที่ใช้ประกอบอาหาร
ดอกกระเจี๊ยบ กลีบเลี้ยง กลีบประดับ ใบอ่อน ยอดอ่อน
วิธีใช้ในการประกอบอาหาร
นิยมนํากลีบเลี้ยงมาทําน้ํากระเจี๊ยบ น้ําผลไม้ น้ําหวาน แยม ผลไม้กวน กระเจี๊ยบแดงนอกจากจะให้รสเปรี้ยวแล้วยังใช้แต่งสีอาหารให้มีสีแดง เช่น เยลลี่ ไวน์ น้ําหวาน ส่วนใบและยอดอ่อนนํามาใส่ในแกง เพื่อให้มีรสเปรี้ยวเช่นกัน
ข้อสังเกต/ข้อควรระวัง
ผู้ที่เป็นโรคหัวใจและโรคไต ควรใช้กระเจี๊ยบแดงอย่างระมัดระวัง เพราะมีเกลือโพแทสเซียมในปริมาณมาก
#กระเจี๊ยบ #ดอกกระเจี๊ยบ #กระเจี๊ยบแห้ง #เครื่องเทศ #สมุนไพร #ปฐมาพาณิชย์