กานพลู
ชื่อสามัญ/ชื่ออังกฤษ Clove
ชื่อวิทยาศาสตร์ Syzygium aromaticum (Linn.) Merr. & Perry
วงศ์: Myrtaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
กานพลูเป็นไม้ยืนต้นทรงพุ่มมีกิ่งก้านสาขามาก ใบเป็นใบเลี้ยงเดียวออกตรงกันข้ามเรียงกัน โดยใบมีลักษณะเป็นมันหนา มีรูปร่างคล้ายหอกแหลม ใบอ่อนมีสีชมพูแดง ตามใบมีต่อมน้ํามันกระจายอยู่เป็นจํานวนมากดอกออกเป็นช่อตามซอกใบหรือปลายกิ่งส่วนยอดของดอกอยู่ในระดับเดียวกัน ดอกประกอบด้วยดอกย่อยประมาณ 10 ดอก กลีบดอกมี 4 กลีบดอก เมื่อแก่มีสีแดงเข้มลักษณะคล้ายตะปู
ดอกที่นิยมเก็บมาเป็นเครื่องเทศและมีคุณภาพดีคือ ช่วงที่ดอกตูมกําลังจะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีแดง (ประมาณเดือนมิถุนายน-กุมภาพันธ์)
หากเก็บก่อนหรือหลังจากนั้นจะได้กานพลูที่ไม่มีคุณภาพซึ่งหลังจากที่เก็บมาแล้วต้องนําไปตากแดดให้แห้งจนกระทั่งดอกตูมเปลี่ยนเป็นสีน้ําตาลเข้มเสียก่อน
จึงจะนํามาใช้ได้
แหล่งที่พบ
กานพลูเป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในภูมิภาคที่มีอากาศร้อนชื้นหรือในที่ที่มีความชุ่มชื้นดังนั้นจึงพบว่ามีการปลูกกานพลูในพื้นที่ใกล้ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกคือระยองจันทบุรีตราดและทางภาคใต้สารสําคัญที่พบ
ดอกกานพลู (Clove) ประกอบด้วย น้ํามันหอมระเหย (Volatile oil) 14-20% กรดแกลโลแทนนิค (Gallotannic acid)
ส่วนสารที่พบในปริมาณต่ำคือกรดไตรเทอร์พื้น (Triterpene acid) เอสเตอร์ (Ester) วานิลลิน (Vanillin) และสารจําพวกโครโมน (Chromone)
เมื่อนําดอกกานพลูแห้งกลั่นด้วยไอน้ําจะได้น้ํามันกานพลู (Clove oil) ซึ่งประกอบด้วยยูจีนอล (Eugenol) เป็นสารสําคัญ
นอกจากนี้ยังมีน้ํามันกานพลูซึ่งได้จากส่วนต่างๆของต้นกานพลู เช่น น้ํามันจากก้านดอกกานพลู น้ํามันจากใบกานพลู น้ํามันจากผลกานพลู ซึ่งน้ํามันเหล่านี้
มีเพียงน้ํามันที่กลั่นจากดอกตูมเท่านั้นที่นําไปใช้ทํายาและเป็นที่ยอมรับในอีกหลายประเทศ
สรรพคุณ
น้ํามันกานพลูสามารถฆ่าเชื้อโรคได้หลายชนิดเช่นเชื้อจุลินทรีย์ทําให้เกิดโรคไทฟอยด์โรคบิดชนิดไม่มีตัวและช่วยยับยั้งเชื้อราที่ท่าเทเป็นโรคกลากและตกขาว
1. น้ํามันกานพลูมีฤทธิ์เป็นยาช่วยระงับอาการปวดฟันและแก้โรครํามะนาดโดยใส่น้ํามันกานพลูในรูฟันที่ปวดหรือเคี้ยวดอกกานพลู 1-2 ดอกช่วยกําจัดกลิ่นปาก
2. แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลมและช่วยย่อยอาหาร โดยใช้ ดอกกานพลู 5-8 ดอก
บดให้เป็นผงรับประทานสําหรับผู้ใหญ่ และใช้ดอก กานพลู 3 ดอก ทุบให้แตกแช่ในน้ําเดือดสําหรับชงนมประมาณ 750 ซีซี. ให้เด็กรับประทาน
3. น้ํามันกานพลูเป็นส่วนผสมของยารักษาโรคต่างๆ เช่นยาแก้ไอ ยาแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน ยาขับระดู ยาแก้ปวดท้อง เป็นต้น
4. กานพลูใช้แต่งกลิ่นเครื่องสําอางยาสีฟันน้ํายาบ้วนปากสบู่ รวมทั้งใช้สังเคราะห์กลิ่นวนิลลา
5. น้ํามันกานพลูใช้ไล่ยุงและช่วยป้องกันกลิ่นหืนของน้ํามันได้
ส่วนที่ใช้ประกอบอาหาร
ดอกตูมแห้ง
วิธีใช้ในการประกอบอาหาร
ก่อนใช้กานพลูประกอบอาหารควรจะคั่วเสียก่อน เพื่อให้มีกลิ่นหอมและมีรสเผ็ดใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องแกงซอสมะเขือเทศผักดอง
ส่วนน้ํามันกานพลูใช้แต่งกลิ่นอาหารกระป๋องและเนื้อสัตว์เช่นไส้กรอกแฮมใช้แต่งกลิ่นลูกกวาดขนมเค้กหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
นอกจากนี้กานพลูยังเป็นของเคียงในการกินหมากอีกด้วย โดยบางคนจะเคี้ยวกานพลู 1-2 ดอกเพื่อใช้กําจัดกลิ่นปาก
วิธีใช้กานพลูเพื่อบรรเทาอาการต่างๆ
• บดกานพลูใส่แผลหัวนมแตก
• บดกานพลูและขั้วพลับให้เป็นผงเอาผงยา 2 กรัมผสมน้ําดื่มวันละ 2 ครั้งแก้อาการสะอึก
• ต้มกานพลู 4 ดอกขั้วพลับ 6 กรัมกับขิงสด 4 กรัมในน้ํา2 ถ้วยใช้ไฟอ่อนเคี่ยวจนเหลือ 1 ถ้วยดื่มครั้งละ 1 ถ้วยวันละ 2 ครั้งรักษาอาการอาเจียน
• ตํารับยาจีนโบราณแก้สะอึกให้ใช้กานพลู 2 กรัมขั้วพลับ 3 กรัมโสม 3 กรัมและขิงแห้ง 2 กรัมต้มแล้วแบ่งเป็น 2 ส่วนกินภายใน 1 วันอาการสะอึกจะหายขาดไปเอง
• ต้มกานพลู 20 ดอกกับชาแดงใส่น้ําพอท่วมแล้วดื่มเป็นชาเป็นยาเจริญอาหารแก้อาการท้องอืดจากอาหารไม่ย่อยและลดกรดในกระเพาะ
#เครื่องเทศ #สมุนไพร #กานพลู #ดอกกานพลู #กานพลูแห้ง #Cloves # ดอกกานพลูแห้ง #ปฐมาพาณิชย์