ขมิ้นชัน
ขมิ้นมีหลายชนิด แต่ที่นิยมนํามาใช้มี 2 ชนิด ได้แก่ ขมิ้นชันและขมิ้นอ้อย ขมิ้นที่นิยมใช้การปรุงอาหาร คือ ขมิ้นอ้อย ส่วนในทางยานิยมใช้ขมิ้นชัน
ชื่อสามัญ/ชื่ออังกฤษ Turmeric, Curcuma, Yellow Root Zedoary (ขมิ้นอ้อย)
ชื่อวิทยาศาสตร์ ขมิ้นชัน Curcuma longa Linn., ขมิ้นอ้อย Curcuma zedoaria Rosc.
วงศ์ Zingiberaceae
ชื่ออื่น/ชื่อท้องถิ่น ขมิ้นชัน ขมิ้น (ทั่วไป) ขมิ้นแกง ขมิ้นหัว ขมิ้นหยวก (เชียงใหม่) มิ้น มิ้น (ภาคใต้) ขมิ้นอ้อย ขมิ้น (ทั่วไป) มิ้น มิ้น (ภาคใต้) ขมิ้นขิ้น ขมิ้นหัวขิ้น ว่านเหลือง ละเมียด
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ขมิ้นทั้ง 2 ชนิด มีลักษณะลําต้นคล้ายคลึงกันมาก เป็นพืชล้มลุก มีลําต้นใต้ดินหรือเหง้า ประกอบด้วยแง่งหลักเรียกว่าแง่งแม่ แขนงที่แตกออก มาจากแง่งแม่ถ้ามีลักษณะกลมเรียกว่าหัว แต่ถ้ามีลักษณะยาวคล้ายนิ้วมือเรียกว่านิ้ว ขมิ้นชันจะมีเหง้าเล็กกว่าขมิ้นอ้อย เนื้อภายในเหง้ามีสีเหลืองจนถึงสีแสด ซึ่งขมิ้นชันจะมีสีเหลืองเข้มกว่าขมิ้นอ้อย มีกลิ่นหอม ใบเป็นใบเดี่ยวออกสลับกัน อยู่รวมกันเป็นกอ ซึ่งขึ้นมาจากเหง้า ใบมีลักษณะเรียวยาวปลายใบแหลม ขมิ้นชันมีใบยาวเรียวแหลมกว่าขมิ้นอ้อย ด้านล่างของใบมีเส้นใบเห็นได้ชัดเจน ออกดอกเป็นช่อ โดยแทงออกมาจากเหง้า บริเวณใจกลางกลุ่มใบ ลักษณะช่อดอกคล้ายทรงกระบอก ประกอบด้วยดอกย่อย ซึ่งดอกย่อยของขมิ้นชันมีสีเหลืองอ่อนถูกหุ้มด้วยกลีบเลี้ยงหรือ กลีบประดับสีเขียวอมชมพู ส่วนดอกย่อยของขมิ้นอ้อยมีสีขาว มีกลีบเลี้ยง สีชมพูอ่อนๆ
แหล่งที่พบ
พบทุกภาคของประเทศไทย เพราะส่งขายเป็นสินค้าออก แต่พบ มากทางภาคใต้ตอนบนโดยเฉพาะจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
สารสําคัญที่พบ
ในเหง้าขมิ้นชันมีน้ํามันหอมระเหย ซึ่งเป็นน้ํามันสีเหลืองมีเซส ควิเทอร์พีนคีโทน (Sesquiterpene ketone) โดยมีสารส่วนใหญ่เป็นทูมีโรน (Tumerone) นอกจากนี้ยังมีสารเออาร์-เทอร์มีโรน (ar-Tumerone) อัลฟ่า -แอทแลนโทน (α-Atlantone) ซิงจิเบอร์รีน (Zingiberene) บอร์นีออล (Borneol) เป็นต้น ส่วนสารสีเหลืองส้มมีชื่อว่า เคอร์คิวมิน (Curcumin) ซึ่งมีสารที่มีฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งของกรดในกระเพาะอาหาร นอกจากนี้ขมิ้น ชันยังประกอบด้วยสารอาหารประเภทโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมันและแร่ธาตุ
สรรพคุณ
1. ช่วยป้องกันในชั้นกระเพาะอาหาร เพราะสารเคอร์คิวมินจะกระตุ้น การหลังมิวซิน (mucin) ออกมาเคลือบกระเพาะ โดยต้มผงขมิ้นชันจนได้ นําข้นๆ ผสมกับน้ําผึ้งพอประมาณ รับประทานเป็นประจํา นอกจากนี้ยัง ช่วยรักษาแผลเปื่อยในกระเพาะและลําไส้หายเร็วยิ่งขึ้น เนื่องจากมีฤทธิ์ฝาดสมานช่วยห้ามเลือด
2. แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ โดยตําเหง้าขมิ้นชันสดให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ําและผสมกับน้ําต้มสุกในอัตราส่วน 1 : 2 รับประทานครั้งละ 2 ช้อน โต๊ะ หลังอาหารและก่อนนอน
3. ช่วยย่อยอาหารและบรรเทาอาการแน่นจุกเสียดเพราะสารเคอร์คิวมินมีฤทธิ์ขับน้ําดี โดยกระตุ้นถุงน้ําดีให้บีบตัวมากขึ้น ซึ่งยังช่วยรักษาโรคนิ่วในถุงน้ําดีได้เช่นกัน
4. น้ํามันหอมระเหยในขมิ้นมีสารสําคัญที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งช่วยรักษาโรคผิวหนัง เช่น แผลสด แผลถลอก แผลพุพอง ผื่นคัน แมลงกัดต่อย โดยใช้เหง้าขมิ้นชันสุดตําให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ําทาบริเวณที่เป็น หรืออาจจะใช้ผงขมิ้นโรยหรือผสมน้ําต้มทาบริเวณที่เป็นแผล
5. รักษาโรคทางเดินหายใจ บรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ และช่วยรักษาโรคไขข้ออักเสบ แก้อาการปวดตามข้อ ปวดเข่า โดยใช้เหง้าขมิ้นชันตําให้ละเอียดผสมกับเกลือพอกบริเวณที่ปวด
6. ช่วยระงับกลิ่นตัว โดยใช้ผงขมิ้นทาบริเวณนั้น
7. ช่วยให้ผิวสวยสะอาด โดยใช้ผงขมิ้นถูให้ทั่วตัวหลังอาบน้ําและล้างหน้า แล้วล้างออกด้วยน้ําสะอาด
8. ใช้เป็นส่วนผสมในยาแก้ปวดท้อง ยาลดกรด ขับลม และยาเจริญอาหาร
ส่วนที่ใช้ประกอบอาหาร
เหง้า แง่ง
วิธีใช้ในการประกอบอาหาร
ใช้แต่งสีอาหารให้เป็นสีเหลือง เช่น ข้าวหมกไก่ แกงกะหรี่ แกงเหลือง ข้าวเหนียว เนย เนยแข็ง ผงมัสตาร์ด ผักดอง ขนมเบื้องญวน เป็นส่วน ผสมของผงกะหรี่ ซอส
ข้อสังเกต/ข้อควรระวัง
1. น้ํามันที่สกัดจากเหง้าขมิ้นแห้ง ใช้เป็นยากําจัดแมลง และฆ่าเชื้อ จุลินทรีย์
2. ใช้เป็นสีย้อมผ้าและเครื่องสําอาง
3. ไม่ควรรับประทานขมินเป็นระยะเวลานานๆ อาจทําให้เกิดอาการ กระวนกระวาย อาเจียน ถ่ายเป็นเลือด
4. สตรีมีครรภ์อ่อนๆ ไม่ควรรับประทานขมิ้นในปริมาณมาก เพราะอาจทําให้แท้งได้
5. หากรับประทานขมิ้นแล้วมีอาการแพ้ เช่น ท้องเสีย คลื่นไส้ ปวดหัว ควรหยุดรับประทานทันที
#ขมิ้นชัน #เครื่องเทศ #สมุนไพร #ปฐมาพาณิชย์