ข่า
ชื่อสามัญ/ชื่ออังกฤษ Galanga
ชื่อวิทยาศาสตร์ Alpinia galangaSW.
วงศ์ Zingiberaceae
ชื่ออื่น/ชื่อท้องถิ่น ข่าตาแดง ข่าหยวก (เหนือ) ข่าหลวง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ข่าเป็นพืชล้มลุกที่มีลําต้นเป็นกอ มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เหง้ามีสีน้ําตาลอมแสดมีเส้นแบ่งข้อช่วงสั้นๆ เนื้อในเหง้ามีสีขาวรสขมเผ็ดร้อน แต่ไม่เผ็ดเหมือนกับขิง มีกลิ่นหอมฉุน ข่าเป็นพืชใบเดี่ยว ใบยาวปลายใบมนขอบใบเรียบ ก้านใบยาวเป็นกาบหุ้มซ้อนกัน ดอกเป็นช่อสีขาวนวล ผลกลมสีแดง ส้มมีรสเผ็ดร้อน
แหล่งที่พบ
ข่าเป็นพืชพื้นเมืองในเขตร้อน มีถิ่นกําเนิดอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และภูมิภาคเอเชียเขตร้อน ปัจจุบันข่าใช้เป็นเครื่องเทศในประเทศไทยและประเทศอินโดนีเซียมากกว่าที่อื่น ประเทศไทยมีการปลูกข่าทั่วไป โดยข่าถือเป็นผักสวนครัวอย่างหนึ่ง
สารสําคัญที่พบ
เหง้าสดมีน้ํามันหอมระเหย (Volatile oil) ซึ่งประกอบด้วยสารเมททิล-ชินนาเมด (Methyl-cinnamate) ซินีออล (Cineol) การบูร (Camphor) และยูจีนอล (Eugenol)
สรรพคุณ
1. ใช้เหง้าสดตําให้ละเอียดผสมกับน้ําปูนใส รับประทานครั้งละครึ่งแก้ว ช่วยขับลมแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ท้องเดินและบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน
2. ใช้รักษาโรคผิวหนัง กลาก เกลื้อนและแก้ลมพิษ โดยใช้เหง้าสด ตําให้ละเอียดผสมกับเหล้าขาวทาบริเวณที่เป็นบ่อยๆ จนกว่าจะดีขึ้น
3. สารสกัดจากข่านํามาประกอบเป็นยารักษาโรคได้หลายชนิด เช่น ยารักษาแผลสด แก้โรคปวดบวมตามข้อ แก้โรคหลอดลมอักเสบ ยาธาตุ และยาขับลม
4.ใช้ไล่แมลงโดยนําเหง้ามาทุบหรือตําให้ละเอียดเพื่อให้น้ํามันหอมระเหยออกมา แล้วนําไปวางในบริเวณที่มีแมลง
5. ผลข่ามีสรรพคุณคล้ายกับเหง้าคือ ใช้เป็นยาแก้ปวดท้อง ท้องร่วง ฆ่าเชื้อบิด และช่วยย่อยอาหาร
ผงจากผลแห้งสามารถรักษาอาการปวดฟันได้ โดยนําไปบดและทาบริเวณที่ปวด
ส่วนที่ใช้ประกอบอาหาร
เหง้าและลําต้นอ่อน ดอก
วิธีใช้ในการประกอบอาหาร
ข่า เป็นเครื่องเทศที่ใช้แต่งกลิ่นอาหารและดับกลิ่นคาวพวกเนื้อสัตว์ต่างๆ เช่น ต้มยําปลา ข้าวต้มปลา ต้มข่าไก่
เป็นส่วนผสมในน้ําพริกเครื่องแกงต่างๆ
#ข่า #ข่าแห้ง #เครื่องเทศ #สมุนไพร #ปฐมาพาณิชย์