ตะไคร้ สาระน่ารู้เครื่องเทศและสมุนไพร

ตะไคร้

ชื่อสามัญ/ชื่ออังกฤษ Lemongrass
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cymbopogon citratus (DC.) Stapf.
วงศ์ Graminae
ชื่ออื่น/ชื่อท้องถิ่น ไคร (ภาคใต้) จะไคร (ภาคเหนือ)


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ตะไคร้เป็นพืชล้มลุก ขึ้นรวมกันเป็นกอแน่น โดยมีเหง้าอยู่ใต้ดิน ใบเรียวยาวขนานแคบปลายใบแหลม ตามขอบใบมีขนเล็กน้อย ลําต้นยาวทรง กระบอกมีไขสีขาวปกคลุม เหง้าและใบมีกลิ่นหอม ออกดอกเป็นช่อ ก้าน ช่อดอกยาว ผลมีขนาดเล็ก

แหล่งที่พบ
พบได้ทั่วไป นิยมปลูกเป็นพืชสวนครัว


สารสําคัญที่พบ

พบน้ํามันหอมระเหย (Volatile oil) ในเหง้าและกาบใบ ซึ่งประกอบ ด้วยสารซิทราล (Citral) ยูจีนอล (Eugenol) เจอรานิออล (Geraniol) ซิโทรเนลลอล (Citronellol) เมอร์ซีน (Myrcene) การบูร (Camphor) เป็นต้น

สรรพคุณ
ตะไคร้ มีฤทธิ์อุ่น รสเผ็ด ช่วยลดความดันโลหิตสูง ขับเหงื่อ แก้หวัด ลมเย็น ปวดศีรษะ แก้อาการขัดเบา ช่วยขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะเป็นเลือด ระงับอาการปวดเกร็งตามร่างกาย

1. แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ แน่น จุกเสียด ช่วยขับลมในลําไส้ บรรเทาอาการไอ รักษาอาการอ่อนเพลีย โดยนําตะไคร้มาต้มดื่มแต่น้ํา
2. แก้อาการปวดเมื่อยตัว โดยนําตะไคร้สดมาต้มกับน้ํา ใช้อาบ
3. รักษาอาการข้อเท้าแพลง ปวดบั้นเอว นําต้นตะไคร้สดทุบพอ แตก ขยี้ทาบริเวณที่เป็น
4. แก้อาการปวดบวมตามข้อ โดยใช้น้ํามันตะไคร้ทาบริเวณที่ปวดบวม
5. น้ํามันตะไคร้มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ เชื้อรา ช่วยไล่ยุงและ แมลงต่างๆ

ส่วนที่ใช้ประกอบอาหาร
เหง้า ลําต้น ใบ

วิธีใช้ในการประกอบอาหาร
ตะไคร้ใช้ปรุงรสอาหารเพื่อดับกลิ่นคาว และช่วยให้อาหารมีกลิ่นหอม เช่น ใส่ในอาหารประเภทยํา ต้มยํา แกงส้ม น้ํายา และเป็นส่วนผสมใน พริกแกงเผ็ด น้ํามันตะไคร้ใช้แต่งกลิ่นอาหาร แต่งกลิ่นเยลลี่ ขนมผิง ขนม หวาน เนื้อกระป๋อง เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และไม่มีแอลกอฮอล์

#ตะไคร้ #ตะไคร้แห้ง #เครื่องเทศ #สมุนไพร #ปฐมาพาณิชย์