พริกไทย สาระน่ารู้เครื่องเทศและสมุนไพร

พริกไทย

ชื่อสามัญ/ชื่ออังกฤษ Pepper
ชื่อวิทยาศาสตร์
Piper nigrum Linn.
วงศ์ Piperaceae
ชื่ออื่น/ชื่อท้องถิ่น พริกน้อย (ภาคเหนือ) พริก (ภาคใต้) พริกขึ้นก พริกไทยดํา พริกไทยล่อน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
พริกไทยเป็นไม้เถาเลื้อยยืนต้น ลําต้นมีข้อ ซึ่งบริเวณข้อใหญ่กว่า ลำต้นจนเห็นได้ชัดเจน ลําต้นอ่อนมีสีเขียวและจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลตามอายุที่เพิ่มขึ้น

รากของพริกไทยมี 2 ชนิด คือ รากหาอาหารที่อยู่ใต้ดิน กับรากที่ทําหน้าที่ยึดลําต้นกับหลัก ซึ่งอาจจะเป็นไม้ยืนต้นอื่นหรือไม้ค้างเพื่อให้เลื้อยเติบโตต่อไปได้ ใบของพริกไทยเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ ตามข้อและตามกิ่ง ใบเป็นรูปไข่ โคนใบใหญ่ ใบกว้างประมาณ 6-10 ซม. ยาว 7-14 ซม. ลักษณะคล้ายใบพลู ผิวใบเรียบเป็นมัน ขนาดและลักษณะของใบจะแตกต่างกันไปตามพันธุ์ โดยออกดอกเป็นช่อในแนวยาวตรงข้ามกับใบ ช่อดอกแต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อย ประมาณ 70-85 ดอก ช่อดอกอ่อนมีสีเหลืองอมเขียว เมื่อแก่จะมีสีเขียวและปลายช่อห้อยลง ผลของพริกไทยมีลักษณะกลมเรียงตัวกันเป็นพวงอัดแน่นอยู่กับแกนช่อ มีรสเผ็ดร้อน ผล อ่อนมีสีเขียว ผลสุกจะมีสีส้มแดง ผลที่นํามาใช้มี 2 ชนิด คือ พริกไทยดํา (Black pepper) และพริกไทยล่อน หรือพริกไทยขาว (White pepper)

พริกไทยดําทําได้ โดยเก็บผลที่โตเต็มที่มีสีเขียวแก่นํามาตากจนแห้ง ซึ่งจะได้พริกไทยผิวสีดํา ส่วนพริกไทยล่อนหรือพริกไทยขาวนั้น เป็นการเก็บผลที่เริ่มสุกมาแช่น้ําแล้วนํามานวดเพื่อลอกเปลือกออก แล้วตากแดด จะได้ผลพริกไทยที่มีสีขาวเป็นเงา

พันธุ์พริกไทยที่นิยมปลูกในประเทศไทย มี 6 พันธุ์
คือ พันธุ์ใบหนา พันธุ์ควายขวิด พันธุ์บ้านแก้ว พันธุ์ปรางถี่ธรรมดา พันธุ์ปรางถี่ใบหยิก พันธุ์คุชชิง

แหล่งที่พบ
พริกไทยเป็นพืชเมืองร้อน มีถิ่นกําเนิดทางตะวันตกเฉียงใต้ของอินเดีย สําหรับประเทศไทยปลูกที่ภาคกลาง ภาคใต้ และพบมากที่ภาคตะวันออก โดยเฉพาะที่จังหวัดจันทบุรี

สารสําคัญที่พบ
เมื่อนําผลพริกไทยดํามากลั่นด้วยไอน้ําจะได้น้ํามันหอมระเหยหรือ น้ํามันพริกไทย (Pepper Oil) ซึ่งทําให้พริกไทยมีกลิ่นหอม มีชันน้ํามัน (Oleoresin) สารที่ทําให้พริกไทยมีรสเผ็ด และมีอัลคาลอยด์หลักคือ พิเพอรีน (Piperine) ที่ทําให้พริกไทยมีกลิ่นฉุน และรสเผ็ดร้อน นอกจากนี้ ยังประกอบด้วย โปรตีน และคาร์โบไฮเดรต

สรรพคุณ
1. เปลือกของพริกไทยมีน้ําย่อยสําหรับย่อยไขมัน ด้วยเหตุนี้ตํารา โบราณจึงเชื่อกันว่าพริกไทยสามารถลดความอ้วนได้
2. พริกไทยช่วยกระตุ้นปุ่มรับรสที่ลิ้น เพื่อให้กระเพาะอาหารหลั่งน้ําย่อยได้มากขึ้น
3. พริกไทยดํามีรสเผ็ดอุ่น เมื่อรับประทานเข้าไปจะรู้สึกอุ่นวาบที่ท้อง ช่วยขับลม ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ไข้มาลาเรีย แก้อหิวาตกโรค
4. ใช้ก้านพริกไทย 10 ก้าน บดให้ละเอียดแล้วต้มกับน้ํา 8 แก้ว ใช้เป็นยาล้างแผลที่อัณฑะ
5. สารพิเพอรีนในพริกไทยสามารถใช้เป็นยาฆ่าแมลง ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ หรือนําผลพริกไทยมาทุบให้แตกแล้วใช้โรยตามตู้เสื้อผ้า หรือบริเวณที่ต้องการ

ส่วนที่ใช้ประกอบอาหาร
ผลพริกไทยอ่อน และผลที่โตเต็มที่

วิธีใช้ในการประกอบอาหาร
ใส่ผลพริกไทยอ่อน ในผัดเผ็ด แกงป่า เพื่อดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ เช่น ผัดเผ็ดหมูป่า ผัดเผ็ดปลาดุก ส่วนพริกไทยดําและพริกไทยขาว มักใช้เป็นเครื่องชูรสและแต่งกลิ่นอาหาร โดยใช้ทั้งแบบที่เป็นเม็ดเพื่อหมักเนื้อสัตว์ หรือใส่ในเครื่องพะโล้ และแบบที่เป็นผงใช้โรยหน้าอาหาร นอกจากนี้ พริกไทยยังช่วยถนอมอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ทําให้เก็บอาหารได้นานขึ้น

ข้อควรสังเกต/ข้อควรระวัง
1. ไม่ควรรับประทานพริกไทยมากเกินไป
2. ผู้ป่วยเกี่ยวกับโรคตาและเจ็บคอไม่ควรรับประทาน
3.พริกไทยดําจะมีสรรพคุณทางยามากกว่าพริกไทยล่อนหรือพริกไทยขาว โดยเฉพาะสรรพคุณที่นํามาประกอบเป็นยาอายุวัฒนะ

#พริกไทย #พริกไทยขาว #พริกไทยดำ #พริกไทยล่อน #เครื่องเทศ #สมุนไพร #ปฐมาพาณิชย์