เม็ดผักชี / ลูกผักชี
ชื่อสามัญ Coriander, Chinese Parsley
ชื่อวิทยาศาสตร์ Coriandrum sativum Vern. Dhania
วงศ์ Umbelliferae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เป็นพืชล้มลุกมีลําต้นขนาดเล็ก ใบมีลักษณะคล้ายฝ่ามือ ขอบใบหยัก ใบที่อยู่ส่วนยอดของลําต้นมีลักษณะเป็นฝอยและมีขนาดเล็กแคบ
ด้านในของก้านใบเป็นร่อง ออกดอกเป็นช่อแบบซี่ร่ม ซึ่งประกอบด้วยดอกย่อยขนาดเล็ก ดอกมีสีม่วงแดงอมชมพู ผลมีสีน้ําตาลอมเหลือง มีลักษณะกลม เมื่อแก่จะแตกออกเป็น 2 ซีก ซึ่งมีขนาดเท่ากัน แต่ละซีกมี 1 เมล็ด
ผักชีที่ปลูกในประเทศไทยมี 2 พันธุ์คือ พันธุ์พื้นเมือง ซึ่งมีใบเล็กบาง เมล็ด เล็ก มีกลิ่นหอมฉุน และพันธุ์แอฟริกามีใบหนาใหญ่ มีกลิ่นหอมเพียงเล็กน้อย
แหล่งที่พบ
พบได้ทั่วไป นิยมปลูกเป็นพืชสวนครัวและตามสวนผัก
สารสําคัญที่พบ
มีน้ํามันหอมระเหย (Volatile oil) ในลูกผักชีแก่ แต่จะมีปริมาณ แตกต่างกันไปตามสถานที่ปลูก น้ํามันลูกผักชี (Coriander oil) มีสารสําคัญคือน้ํามันคอเรียนรอล (Coriandrol oil) และ ดี-ไลนาลูออล (d-Linalool) ซึ่งเป็นน้ํามันใส ไม่มีสี คงทน ไม่สลายตัวและมีกลิ่นหอม นอกจากนี้ลูกผักชียังมีสาร Fatty oil ซึ่งมีกลิ่นเหมือนน้ํามันลูกผักชี ใบผักชีมีแคลเซียม เหล็ก และวิตามินซี
สรรพคุณ
ผักชีมีฤทธิ์อุ่น รสเผ็ด ช่วยย่อยอาหาร บํารุงกระเพาะอาหาร แก้ไข้หวัด ขับเหงื่อ แก้โรคหัดและกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ลูกผักชีช่วยขับลม ขับพิษ ขับปัสสาวะ บํารุงธาตุ แก้อาการน้ําดีเป็นพิษ หากเคี้ยวลูกผักชีจะช่วยบรรเทาอาการเมาเหล้า ทําให้ลมหายใจมีกลิ่นหอม
ส่วนที่ใช้ประกอบอาหาร
ลําต้น ใบ ราก เมล็ด
วิธีใช้ในการประกอบอาหาร
อาหารไทยหลายชนิดนิยมโรยใบผักชีสด เพื่อตกแต่งให้ดูสวยงาม และมีกลิ่นหอมชวนรับประทาน ทุกส่วนของลําต้นใช้แต่งกลิ่นซอสและน้ํา จิ้มต่างๆ รากใช้แต่งกลิ่นแกงจืด หมูทอด เนื้อทอด และซุปทุกชนิด ลูกผักชีหรือเม็ดผักชีนั้นใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องแกง ไส้กรอก ผักดอง และแต่งกลิ่นคุกกี้ ขนมปัง ขนมเค้ก และเหล้าจิน (Gin)
ข้อสังเกต/ข้อควรระวัง
1. กากที่เหลือจากการสกัดน้ํามันออกจากลูกผักชี มีโปรตีนและ ไขมัน นิยมนํามาใช้เป็นอาหารสัตว์
2. หากสัมผัสน้ํามันลูกผักชีเป็นเวลานาน อาจทําให้ผิวหนังเกิดการระคายเคืองได้
3. ไม่ควรรับประทานผักชี ในกรณีที่มีอาการท้องผูก ริมฝีปากแห้ง และกระหายน้ํา
#ลูกผักชี #เม็ดผักชี #เมล็ดผักชี #เครื่องเทศ #สมุนไพร #Coriander