อบเชย สาระน่ารู้เครื่องเทศและสมุนไพร

อบเชย
ชื่อสามัญ / ชื่ออังกฤษ: Cinnamon
ชื่อวิทยาศาสตร์: Cinnamomum spp.
วงศ์: Lauraceae

อบเชยมีหลายชนิด โดยมีคุณภาพแตกต่างกันไปตามแหล่งที่ปลูก หรือสถานที่ผลิต
ซึ่งสามารถแบ่งได้ดังนี้
อบเชยเทศ Cinnamomum verum J.S. Presl 
อบเชยจีน Cinnamomum cassia Nees 
อบเชยญวน Cinnamomum camphora Fries 
อบเชยชวา Cinnamomum burmannii Blume

ชื่ออื่น / ชื่อท้องถิ่น: อบเชยต้น มหาปราบ (ภาคกลาง) กระดังงา (กาญจนบุรี) (พิษณุโลก) สุรามิด (สุโขทัย) บอกคอก (ลําปาง) พญาปราน , สีมา) กระแจะโมง โมงหอม (ชลบุรี) สะวง (ปราจีนบุรี) เจียดกระทั้งหัน (ยะลา) 

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
อบเชยแต่ละชนิดจะมีลักษณะลำต้นที่แตกต่างกัน ส่วนที่นํามา เปลือกของใบและกิ่งก้าน

อบเชยเทศ เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กไม่ผลัดใบ เปลือกลําต้นมีสีเทาและหนา กิ่งขนานกับพื้นและตั้งชันขึ้น ใบเป็นใบเดี่ยวออกสลับกันตามลำต้น ลักษณะใบคล้ายรูปไข่ ปลายใบแหลม มีเส้นใบ 3 เส้น ดอกออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ดอกมีขนาดเล็ก สีเหลือง มีกลิ่นหอม ผลมีสีดําคล้ายรูปไข่

อบเชยจีน เป็นไม้ยืนต้น มีความสูงและขนาดของลําต้นใหญ่กว่า อบเชยเทศ มีเปลือกหนาหยาบกว่าและสีเข้มกว่าอบเชยเทศ ใบมีลักษณะคล้ายรูปหอก สีเขียวเข้ม เป็นมัน ออกดอกเป็นช่อ ดอกมีขนาดเล็ก มีขนอ่อนๆ ที่ก้านดอก เนื้อผลนิ่ม กลิ่นหอมฉุน มีรสขมเล็กน้อย

อบเชยญวน เป็นไม้ยืนต้น ซึ่งมีลักษณะลําต้นคล้ายคลึงกับอบเชยจีนมาก ใบเป็นใบเดี่ยวค่อนข้างบาง รูปร่างยาวเรียว ปลายใบแหลม ดอกและผลมีขนาดเล็ก มีกลิ่นหอมแต่หอมไม่เท่ากับอบเชยเทศ มีรสหวาน

อบเชยชวา เป็นไม้ยืนต้นที่มีขนาดใหญ่กว่าอบเชยที่กล่าวมาแล้ว ทั้งหมด เป็นอบเชยที่วางจําหน่ายตามท้องตลาดทั่วไป แต่นิยมเรียกกันว่า อบเชยเทศ ใบยาวเรียว ปลายใบแหลม ดอกและผลมีขนาดเล็ก มีกลิ่นหอม แต่น้อยกว่าอบเชยเทศ 

แหล่งที่พบ
พบมากในจังหวัดพิษณุโลก โดยเป็นแหล่งปลูกที่สําคัญของประเทศไทย

สารสําคัญที่พบ
อบเชยเทศ เมื่อกลั่นเปลือกอบเชยเทศด้วยไอน้ําจะได้น้ํามันอบเชยเทศ (Cinnamon bark oil) ซึ่งมีสีเหลือง ประกอบด้วยสารซินนามาลดีไฮด์ (Cinnamaldehyde) ยูจีนอล (Eugenol) เบนซาลดีไฮด์ (Benzaldehyde) เฟลแลนดรีน (Phelandrene) ไพนีน (Pinene) ไลนาลูออล (Linalool) ซึ่งน้ํามันนี้จะเปลี่ยนเป็นสีแดงหากเก็บไว้นานๆ ส่วนใบอบเชยเทศ เมื่อนํามากลั่นด้วยไอน้ําจะได้ น้ํามันใบอบเชยเทศ (Cinnamon leaf oil) ซึ่งมีสีน้ําตาลมีกลิ่นหอมฉุนคล้ายน้ํามันกานพลู ประกอบด้วยสารยูจีนอล ซินนามาลดีไฮด์ ไพนีน บอร์นีออล (Borneol) เจอรานิออล (Geraneol) ไลนาลูออล ซินนามิลแอลกอฮอล์ (Cinnamyl alcohol) เป็นต้น

อบเชยจีน น้ํามันอบเชยจีนข้นและแข็งตัวเร็วกว่าน้ํามันอบเชยเทศ ซึ่งประกอบด้วยสารซินนามิคอัลดีไฮด์ (Cinnamic aldehyde) ซินนาดอะซิเตท (Cinnamyl acetate) กรดซินนามิค (Cinnamic acid) ฟีนนิลโพรพิลอะซีเตท (Phenylpropyl acetate) กรดแทนนิค (Tannicacid) และแป้ง เป็นต้น ซึ่งคุณภาพของน้ํามันอบเชยจีนขึ้นอยู่กับปริมาณ ของซินนามิคแอลดีไฮด์

อบเชยญวน น้ํามันอบเชยญวนมีสารซินนามิคอลดีไฮด์และเทอร์ฟีน(Terpene) เป็นสารสําคัญ

อบเชยชวา น้ํามันอบเชยชวาประกอบด้วยสารสําคัญคล้ายกับน้ำมันอบเชยจีน 

สรรพคุณ
อบเชยมีฤทธิ์อุ่นร้อน มีรสหอมหวาน ช่วยขับเหงื่อ ให้ความสดชื่น แก้อาการอ่อนเพลีย น้ํามันอบเชยเทศใช้เป็นส่วนผสมในยาขับลม แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อราและเชื้อจุลินทรีย์ แต่มีผลข้างเคียงคือก่อให้เกิดความระคายเคือง ส่วนน้ํามันใบอบเชยเทศ ใช้เป็นส่วนผสมในยาทาถูนวด เพื่อบรรเทาอาการปวดข้อ ข้ออักเสบ น้ํามันอบเชยจีนใช้เป็น ยาบํารุงธาตุ ขับลม และมีฤทธิ์ฝาดสมาน ช่วยลดปริมาณของน้ํานม มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ แต่ก็ทําให้เกิดการระคายเคืองมากกว่าน้ํามันอบเชยเทศ 

ส่วนที่ใช้ในการประกอบอาหาร 
ใบ กิ่งก้าน 

วิธีใช้ในการประกอบอาหาร
ใช้แต่งกลิ่นอาหาร ขนมหวาน เช่น ข้าวหมกไก่ ไส้กรอก เบคอน ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ต่างๆ ลูกกวาด เยลลี่ แยม เครื่องดื่มโคคา-โคล่า เหล้า 
ใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องพะโล้ เครื่องแกงมัสมั่น ผงกะหรี่ ขนมเค้ก คุกกี้ เป็นส่วนประกอบของอาหารประเภทผักดอง ซอส และใช้แต่งกลิ่นยา เช่น ยาเตรียมที่ใช้สําหรับช่องปาก ยาแก้ท้องเสีย ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน 

ข้อสังเกต / ข้อควรระวัง
1. ใบของต้นอบเชยบางชนิดที่นํามาใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องแกง นิยมเรียกกันว่า ใบกระวาน
2. ผู้ที่ปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะขัด เป็นโรคริดสีดวงทวาร อุจจาระแข็งแห้ง และสตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทานอบเชย

#อบเชย #Cinnamon #เครื่องเทศ #สมุนไพร #อบเชยก้าน #อบเชยแท่ง #อบเชยแห้ง