เก๋ากี้ สาระน่ารู้เครื่องเทศและสมุนไพร

เก๋ากี้
ชื่อสามัญ/ชื่ออังกฤษ: Barbary wolfberry fruit
ชื่อวิทยาศาสตร์: ตงเหล่งเก๋ากี้: Lycium barbatum Linn.
ซัวเก๋ากี้ : Lycium chinense. – Mill.
  เฮ็กก้วยเก้ากี้: Lycium ruthenicum Murr
วงศ์ Solanaceae 
ชื่ออื่น/ชื่อท้องถิ่น: ห่วยคี่ ซัวเก๋ากี้ ไซเก๋าคี่ เก๋าคี่ เก๋าคี่ฉ่าย เก๋าคี่จี้ 

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เก๋ากี้ มี 3 ชนิด คือ ตงเหล่งเก๋ากี้ เก๋ากี้ และเฮ็กก้วยเก๋ากี้ แต่ที่นิยมนํามาใช้คือ ตงเหล่งเก๋ากี้ ซึ่งมีลักษณะลําต้นเป็นไม้เลื้อย สูงประมาณ 1 เมตร ขึ้นรวมกันเป็นพุ่ม มีหนามแหลมสั้นอยู่ที่โคนใบ ผลเป็นรูปไข่รียาว มีสีแดงสด ผิวหนานุ่มมีรอยแตกย่นเป็นมันเงา ภายในมีเมล็ดมาก รสหวาน เล็กน้อย ส่วนเก๋ากี้ หรือเก๋ากี้ฉ่าย มีลําต้นเป็นกอพุ่มมีหนามแหลม ดอกสีม่วง

แหล่งที่พบ
 เป็นพืชนําเข้าจากต่างประเทศ เช่น ประเทศจีน

สารสําคัญที่พบ
เก๋ากี้ ประกอบด้วยสารสําคัญคือ แคโรทีน (Carotene) ไทอามีน (Thiamine) กรดนิโคตินิค (Nicotinic acid) กรดแอสคอร์บิค (Ascorbic acid) กรดไลโนเลอิค (Linoleic acid) เบต้า-ซิโตสเตอรอล (β-Sitosterol) บีทาอื่น (Betaine) ซีอะแซนทีน (Zeaxanthine) ไพซา – เลอิน (Physalein) เป็นต้น นอกจากนี้ยังประกอบด้วยคุณค่าทางสารอาหารอีกหลายชนิด เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 2 วิตามินซี โปรตีน น้ำตาล เป็นต้น 

สรรพคุณ
เมล็ดเก๋ากี้ เป็นยาบํารุงที่มีสรรพคุณมากมาย ช่วยแก้ไข้ แก้ไอ เจ็บคอ วิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ หูอื้อ ตาลาย บํารุงสายตาและรักษาโรคตาฝ้าฟางในเวลากลางคืน เป็นยาบํารุงร่างกาย ทําให้ระบบการทํางานภายในร่างกายเป็นปกติ ช่วยลดน้ําตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน รักษาโรคน้ํากามเคลื่อนในเพศชาย มีฤทธิ์กล่อมประสาทและรักษาอาการนอนไม่หลับ 

ส่วนที่ใช้ประกอบอาหาร
เมล็ด 

วิธีใช้ในการประกอบอาหาร
ชาวจีนนิยมนําเก๋ากี้มาประกอบอาหาร โดยนํามาใส่ในแกงจืด หรือตุ๋นซุปต่างๆ เพื่อให้อาหารมีรสชาติและช่วยบํารุงร่างกาย หรือใช้ทําเป็นของหวานโดยนํามาเคี่ยวรวมกับน้ําผึ้งและเง็กเต็ก 

ข้อควรระวัง 
1. ไม่ควรใช้กับผู้ที่มีอาการท้องร่วง
2. ผู้ป่วยที่มีไข้สูง คอแห้ง หน้าแดง หงุดหงิด ท้องผูก และมีปัสสาวะเหลืองเข้ม ไม่ควรรับประทาน

#เครื่องเทศ #สมุนไพร #เก๋ากี้ #เก๋าคี่ #โกจิเบอร์รี่ #โกจิเบอรี่ #Gojiberry #ปฐมาพาณิชย์ #เครื่องยาจีน