เทียนข้าวเปลือก
ชื่อสามัญ Fennel
ชื่อวิทยาศาสตร์ Foeniculum vulgare Mill.
วงศ์ Umbelliferae
ชื่ออื่น/ชื่อท้องถิ่น เทียนแกลบ ยี่หร่าหวาน
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เทียนข้าวเปลือก เป็นพืชล้มลุกตระกูลเดียวกับผักชีแต่มีลําต้นสูงกว่า รากมีการยึดเกาะที่แข็งแรง ลําต้นสีเขียวสด กิ่งก้านแตกแขนงมากมาย ใบเป็นเส้นฝอยมีสีฟ้าอมเขียว ดอกมีสีเหลืองออกเป็นช่อ ก้านดอกมีลักษณะคล้าย ซี่ของร่ม ผลแก่แห้งซึ่งส่วนใหญ่มักถูกเข้าใจว่าเป็นเมล็ด มีสีเหลือง รสเผ็ดหวาน ผลเทียนข้าวเปลือกมีลักษณะกลมรี ภายในผลจะแบ่งเป็น 2 ซีก มีเส้นตรง ตรงกลางคล้ายกับข้าวเปลือกหรือแกลบ เทียนข้าวเปลือกมี 2 ชนิดคือ ชนิดหวาน (Sweet fennel) และชนิดขม (Common fennel หรือ Bitter fennel)
แหล่งที่พบ
เป็นเครื่องเทศที่นำเข้าจากประเทศอินเดีย
สารสําคัญที่พบ
ผลเทียนข้าวเปลือก เมื่อกลั่นด้วยไอน้ําจะได้ทั้งน้ํามันหอมระเหยและ น้ํามันระเหยยาก ซึ่งน้ํามันหอมระเหยประกอบด้วยสารสําคัญ เช่น ทราล อะนีโทล (Tran Anethole) ซึ่งสารชนิดนี้จะมีปริมาณที่ต่างกันตามแหล่งเพาะปลูก สายพันธุ์ และการเก็บเกี่ยว มักจะพบว่า เทียนข้าวเปลือกชนิดขมมีสารทราล อะนีโทลน้อยกว่าชนิดหวาน แต่มีปริมาณสารเฟนโชน (Fenchone) มากกว่า นอกจากนี้ยังประกอบด้วยสารสําคัญอื่นๆ อีก เช่น เอสทราโกล (Estragole) ไลโมนีน (Limonene) แคมฟีน (Camphene) และสารประเภท โมโนเทอร์ฟีน ไฮโดรคาร์บอน (Monoterpene hydrocarbon) เป็นต้น ส่วนน้ํามันระเหยยาก ประกอบด้วย กรดโอเลอิค (Oleic acid) กรดไลโน เลอิค (Linoleic acid) โทโคเฟอรอล (Tocopherol) อัมเบลลิเฟอโรน (Umbelliferone) สติคมาสเทอรอล (Stigmasterol) โปรตีน น้ําตาล วิตามิน และแร่ธาตุ
สรรพคุณ
ต้น และใบสดของเทียนข้าวเปลือกมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ ส่วนรากมีฤทธิ์ ช่วยให้ระบาย รักษาอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง ปวดข้อ และไส้เลื่อน ผลเทียนข้าวเปลือก ช่วยขับลม รักษาโรคที่เกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร เช่น แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับลมในกระเพาะอาหาร และช่วยปรับลําไส้ให้ทํางานปกติ ในบางประเทศใช้ผลเทียนข้าวเปลือกเคี้ยวแล้วอมเพื่อรักษาแผลในปาก
น้ำมันเทียนข้าวเปลือก มีสรรพคุณเช่นเดียวกับผล ช่วยขับลมในเด็กโดยใช้เทียนข้าวเปลือก 8 หยด ผสมน้ํา 500 ซีซี. สําหรับผู้ใหญ่ใช้ผลแห้งบดละเอียด 1 ช้อนชา ชงดื่มกับน้ํา 1 แก้ว และยังใช้เป็นส่วนผสมในยาระบายเพื่อลดอาการไซ้ท้องของยาระบาย นอกจากนี้ในตํารายาจีนเชื่อว่า เทียนข้าวเปลือกมีฤทธิ์ร้อน ช่วยกระตุ้นและปรับอุณหภูมิของไตให้ทํางานเป็นปกติ รักษาโรคปัสสาวะรดที่นอน และใช้เป็นส่วนผสมในยาต้ม
ส่วนที่ใช้ประกอบอาหาร
ต้น ใบสด ใบแห้ง และผลแห้ง
วิธีใช้ในการประกอบอาหาร
ใบสดของเทียนข้าวเปลือกนํามานั่นเป็นฝอยเพื่อใช้ปรุงแต่งกลิ่น อาหารจานปลา หรือเพื่อดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ ส่วนเมล็ดและน้ํามันหอมระเหยใช้แต่งกลิ่นอาหารประเภท ซุป ผักดอง ซอส ขนมหวาน เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และไม่มีแอลกอฮอล์ รวมทั้งใช้ในอุตสาหกรรมแต่งกลิ่นน้ําปลา
ข้อสังเกต/ข้อควรระวัง
1. ตํารายาจีนเชื่อว่าเมล็ดเทียนข้าวเปลือกมีฤทธิ์อุ่นอวัยวะภายใน จึงไม่ควรใช้กับโรคที่มาจากอากาศร้อน เช่น ท้องร่วง หรือแผลที่เกิดจากความร้อน เช่น น้ําร้อนลวก และไม่ควรใช้กับผู้ชายที่มีอาการเกร็งตัวของ อวัยวะเพศและมีปัญหาหลั่งเร็ว
2. น้ํามันหอมระเหยในเทียนข้าวเปลือกชนิดขมนิยมใช้ในอุตสาหกรรม เครื่องสําอาง เช่น สบู่ และใช้แต่งกลิ่นยาทาภายนอก
#เทียนข้าวเปลือก #เครื่องเทศ #สมุนไพร #ปฐมาพาณิชย์ #ยี่หร่าหวาน