เปราะหอม สาระน่ารู้เครื่องเทศและสมุนไพร

เปราะหอม

ชื่อวิทยาศาสตร์ Kaempferia galanga Linn.
วงศ์ Zingiberaceae
ชื่ออื่น/ชื่อท้องถิ่น หอมเปราะ (ภาคกลาง) ว่านหอม ว่านตีนดิน ว่านแผ่นดินเย็น (ภาคเหนือ)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เป็นพืชล้มลุกมีอายุเพียง 1 ปี มีลําต้นหรือเหง้าใต้ดิน เนื้อภายในสีเหลืองอ่อน บริเวณขอบนอกสีเหลืองเข้ม มีกลิ่นหอม ใบเป็นใบเดี่ยวแทงออกมาจากเหง้าแผ่ราบไปตามพื้นดิน ลักษณะใบค่อนข้างกลม โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบเว้าเล็กน้อย มีขนอ่อนบริเวณท้องใบ เนื้อใบหนา ก้านใบเป็นกาบ ออกดอกเป็นช่อตรงกลางระหว่างใบ ดอกสีขาวหรือสีขาวอมชมพูแต้มด้วยจุดม่วง มีกลีบประดับรองรับดอก ซึ่งต้นและใบจะเริ่มแห้ง เมื่อมีดอก ผลแก่เมื่อแห้งสามารถแตกออกได้

แหล่งที่พบ
พบมากทางภาคเหนือ

สารสําคัญที่พบ
ในเหง้ามีน้ํามันหอมระเหยซึ่งประกอบด้วยบอร์นีออล (Borneol) แคมฟีน (Camphene) ซินีออล (Cineol) พารายูมาริน (Paraeumarin) กรดซินนามิค (Cinnamic acid) กรดอะนิซิค (Anisic acid)

สรรพคุณ
ช่วยขับลม แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ ท้องขึ้น และแก้ธาตุไม่ปกติ

โดยใช้เหง้าสด 10-15 กรัม หรือเหง้าแห้ง 5-10 กรัม นั่นให้เป็นชิ้นเล็กๆ ต้มกับน้ำประมาณ 1 ถ้วยแก้ว ดื่ม 1-2 ครั้ง นอกจากนี้น้ําคั้นจากใบและเหง้ายังใช้ล้างศีรษะเพื่อแก้รังแคและคันศีรษะได้เป็นอย่างดี

ส่วนที่ใช้ประกอบอาหาร
เหง้า ใบ

วิธีใช้ในการประกอบอาหาร
เหง้าเปราะหอมเป็นเครื่องเทศโดยใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องแกงเพื่อ ดับกลิ่นคาวปลา และใช้เป็นส่วนผสมในส่าเหล้า
ส่วนใบรับประทานเป็นผักสดจิ้มน้ําพริก

#เปราะหอม #เหง้าเปราะหอม #เครื่องเทศ #สมุนไพร #ปฐมาพาณิชย์