ผิวมะกรูด – ใบมะกรูด
ชื่อสามัญ/ชื่ออังกฤษ Leech Lime, Kaffir, Mauritrus papeda, Porcupine Orange
ชื่อวิทยาศาสตร์ Citrus hystrix DC.
วงศ์ Rutaceae
ชื่ออื่น/ชื่อท้องถิ่น ส้มกรูด ส้มมั่วผี (ภาคใต้), มะขุด มะขุน (ภาคเหนือ), มะหูด (หนองคาย)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
มะกรูดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีลักษณะเป็นพุ่ม ตามลําต้นมีหนามแหลม ก้านใบแผ่ออกเป็นครีบคล้ายแผ่นใบ จึงทําให้เห็นใบเป็น 2 ตอนติดกัน โดยใบมีสีเขียวแก่และมีกลิ่นหอม ดอกมีสีขาว ผลค่อนข้างกลม ลักษณะของผลมีรูปร่างแตกต่างกันไปแล้วแต่พันธุ์ ผิวของผลขรุขระ มีจุกที่หัวและท้ายของผล
แหล่งที่พบ
พบได้ทั่วไป เพราะนิยมปลูกไว้ตามบ้านและสวน
สารสําคัญที่พบ
ในผิวมะกรูดมีน้ํามันหอมระเหย ซึ่งประกอบด้วยสารหลัก คือ เบต้าไพนีน (β-Pinene) ไลโมนีน (Limonene) ซาบินีน (Sabinene) และในใบ มีน้ํามันหอมระเหยประกอบด้วย ซิโทรเนลลาล (Citronellal) ไอโซพูลีโกล (Isopulegol) ไลนาลูออล (Linalool) เป็นสารหลัก ส่วนในน้ําของผลมะกรูดประกอบด้วยกรดซิตริก (Citric acid) วิตามินซี และกรดอินทรีย์ ชนิดต่างๆ
สรรพคุณ
1. น้ํามะกรูดช่วยให้เจริญอาหาร แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ และใช้ดองยาเพื่อนํามาใช้เป็นยาบํารุงโลหิตสตรี และฟอกเลือด
2. สระผมด้วยน้ํามะกรูดจะทําให้เส้นผมลื่นเป็นมัน ไม่แห้งกรอบ ไม่หงอกเร็ว ไม่ร่วง ช่วยบํารุงรากผมและหนังศีรษะไม่ให้เป็นรังแค ทําให้เส้นผมดกดําเป็นเงางาม โดยนําผลมะกรูดไม่ปอกเปลือก ผ่าเป็น 2 ซีก นวดผมให้ทั่วศีรษะ
3. ช่วยขับและละลายเสมหะ บรรเทาอาการไอ โดยจิบน้ํามะกรูด ผสมเกลือเล็กน้อยทุก 5-15 นาที เมื่อมีอาการดีขึ้น จึงปรับเป็นจิบทุกหนึ่งชั่วโมง
4. ใบมะกรูดช่วยรักษาอาการจุกเสียดและขับลมในลําไส้ ส่วนเนื้อมะกรูดใช้เป็นยาแก้อาการปวดศีรษะ ใน ดาล เมธกส สเปน
5. ใช้เป็นยาขับลม แก้อาการปวดท้องในเด็กเล็ก โดยนํามหาหิงคุ์ใส่ ในผลมะกรูดที่นําไส้หรือเนื้อออกแล้ว ทาที่ท้องเด็ก ยกเว้นที่สะดือ
ส่วนที่ใช้ประกอบอาหาร
ใบ ผล ผิวมะกรูด และน้ํามะกรูด
วิธีใช้ในการประกอบอาหาร
ใบมะกรูด ใช้ปรุงแต่งกลิ่นอาหารหลายชนิด เช่น แกงเผ็ด ต้มยํา หรือใช้ใส่ในอาหาร เช่น ห่อหมก ผิวมะกรูดใช้เป็นส่วนผสมของน้ําพริกแกงต่างๆ ส่วนน้ำมะกรูดใช้ดับกลิ่นคาว และปรุงอาหารให้มีรสเปรี้ยว โดยทั่วไปนิยมใส่น้ํามะกรูดในอาหาร ประเภทแกงส้ม แกงคั่ว
ข้อสังเกต/ข้อควรระวัง
1. หลังจากจิบน้ํามะกรูดแล้วควรบ้วนปากทุกครั้ง เพราะน้ํามะกรูด มีความเป็นกรด สามารถทําลายผิวเคลือบฟันได้
2. ก่อนสระผมด้วยมะกรูดควรชโลมผมให้เปียกเสียก่อน เพื่อให้ มะกรูดออกฤทธิ์เป็นกรดน้อยลง
#ผิวมะกรูด #เปลือกมะกรูด #ใบมะกรูด #มะกรูด #เครื่องเทศ #สมุนไพร #ปฐมาพาณิชย์