โป๊ยกั๊ก สาระน่ารู้เครื่องเทศและสมุนไพร

โป๊ยกั๊ก (จันทน์แปดกลีบ)

ชื่อสามัญ/ชื่ออังกฤษ Chinese Star Anise
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ilicium verum Hook. f.
วงศ์ Iliciaceae
ชื่ออื่น/ชื่อท้องถิ่น จันทน์แปดกลีบ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

โป๊ยกั๊ก เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีลักษณะเป็นพุ่ม มีใบสีเขียวสดทุกฤดูกาล ดอกมีสีแดงหรือสีขาว ซึ่งเป็นดอกเดี่ยว ผลเป็นรูปดาว มีกลิ่นหอม แต่ละผลมี 5- 13 พู แต่ส่วนใหญ่มี 8 พู (ด้วยเหตุนี้จึงถูกเรียกว่า จันทน์แปดกลีบ) 1 พู มี 1 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปไข่ แบนเรียบเป็นเงา สีน้ําตาล ผลจะให้น้ํามันหอมระเหยในปริมาณสูงเมื่อแก่จัดแต่ยังไม่สุก ต้นโป๊ยกั๊กมีอายุ ประมาณ 80-100 ปี

แหล่งที่พบ
ปลูกมากในมณฑลกวางสีในประเทศจีน และมณฑลตั้งเกี๋ยในประเทศ เวียดนาม
ประเทศไทยจึงนําเข้าโป๊ยกั๊กมาจากประเทศจีนและประเทศเวียดนาม

สารสําคัญที่พบ
เมื่อนําผลมากลั่นด้วยไอน้ําจะได้น้ํามันหอมระเหย (Star anise oil)
ซึ่งประกอบด้วยสารสําคัญ คือ อะนีโทล (Anethole) เอสทราโกล (Estragole) ซินีออล (Cineole) เป็นต้น

สรรพคุณ
โป๊ยกั๊ก มีฤทธิ์อุ่น รสเผ็ดและหวาน ช่วยขับลม ขับเสมหะ รักษาโรคและอาการที่เกิดจากความหนาว เหน็บชาและอัณฑะบวม
1. รักษาอาการท้องผูก ท้องอืด ปัสสาวะขัด โดยบดโป๊ยกั๊ก และหัวหอมอย่างละ 6-8 หัว ผสมน้ํา 3 ถ้วย ต้มไฟอ่อนเคี่ยวให้เหลือน้ําเพียง 1 ถ้วย รับประทานวันละ 2 ครั้ง
2. รักษาโรคไส้เลื่อน โดยเผาโป๊ยกั๊กประมาณ 4 กรัม บดให้เป็นผง ผสมไวน์องุ่น รับประทานวันละ 2 ครั้ง
3. รักษาอาการปวดหลัง โดยคั่วโป๊ยกั๊ก บดจนเป็นผงให้ได้ประมาณ 7 กรัม ละลายกับน้ําเกลืออุ่นๆ รับประทานวันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหาร
4. น้ํามันโป๊ยกั๊กใช้เป็นส่วนผสมของยาอม ยาแก้ไอ แต่งกลิ่นเครื่องหอม สบู่ ยาสีฟัน เครื่องสําอาง ครีมบํารุงผิว และยา

ส่วนที่ใช้ประกอบอาหาร
ผลโป๊ยกั๊ก

วิธีใช้ในการประกอบอาหาร
ใช้ผลโป๊ยกั๊ก เป็นเครื่องเทศในการแต่งกลิ่นอาหารประเภทพะโล้ เนื้อกระป๋อง ขนมหวาน ลูกกวาด เยลลี่ ขนมผิง เครื่องดื่มและเหล้า

ข้อสังเกต/ข้อควรระวัง
ผู้เป็นโรคผิวหนังไม่ควรใช้โป๊ยกั๊ก เพราะสารอะนีโทล (Anethole) จะทําให้ผิวหนังอักเสบเป็นผื่นแดงพอง และเป็นสะเก็ดได้

#โป๊ยกั๊ก #จันทน์แปดกลีบ #เครื่องเทศ #สมุนไพร #ปฐมาพาณิชย์